ประเทศไทย : ปฏิรูปพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์เพื่อให้แรงงานข้ามชาติมีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานของตน

Click here to view this petition in English. မြန်မာဘာသာစကား ភាសាខ្មែរ

แรงงานข้ามชาติถือเป็นแรงงานส่วนใหญ่ที่รับจ้างทำงานในภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลไทย หนุ่มสาวหลายแสนคนจากประเทศเมียนมา กัมพูชา และลาวเดินทางมาเพื่อทำงานในโรงงานแปรรูปเชิงพาณิชย์ บนเรือประมง และในไร่นาต่าง ๆ อาหารทะเลที่พวกเขาจับและแปรรูปถูกนำไปขายต่อให้กับบริษัทต่างชาติ ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยและเป็นอาหารสำหรับผู้คนทั่วโลก อย่างไรก็ตาม กฎหมายปฏิเสธสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานของแรงงานข้ามชาติในการมีเสรีภาพในการสมาคมและการร่วมเจรจาต่อรองอย่างชัดเจน ซึ่งต่างจากแรงงานไทย สถานการณ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงปัญหาเรื้อรังในอุตสาหกรรมที่มีแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานข้ามชาติ เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลและประมง กฎหมายไทยและแนวปฏิบัติด้านแรงงานของซัพพลายเออร์ไทยในปัจจุบันส่งผลผลให้แรงงานข้ามชาติไม่สามารถดำเนินการที่อาจนำไปสู่สภาพการทำงานที่ดีขึ้นและป้องกันการละเมิดสิทธิแรงงานได้ อันได้แก่ การจัดตั้งและเป็นผู้นำในสหภาพแรงงานของตนเอง

ในเดือนสิงหาคม 2565 รัฐบาลไทยได้ประกาศว่าจะดำเนินการเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยรวมถึงการพัฒนากฎหมายสำคัญว่าด้วยสิทธิของแรงงานข้ามชาติในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน อย่างไรก็ดี พ.ร.บ. แรงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่อนุญาตให้แรงงานข้ามชาติในการจัดตั้งสหภาพของตัวเอง ซึ่งหากกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้รับการแก้ไข แรงงานข้ามชาติก็จะยังมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบต่อไป

ใส่ชื่อของคุณในจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีประเทศไทยด้านล่าง

เรียน นายประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย

ข้าพเจ้าเขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้นเพื่อร่วมส่งเสียงสนับสนุนการเรียกร้องของจากสหภาพแรงงานในประเทศ สหพันธ์แรงงานนานาชาติ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ในประเด็นการปฏิเสธสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานของแรงงานข้ามชาติในการมีเสรีภาพในการสมาคมและการร่วมเจรจาต่อรองร่วม การเลือกปฏิบัติที่ถูกเขียนระบุในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์อย่างชัดเจนได้สร้างระบบความไม่เท่าเทียมเชิงโครงสร้าง ทำให้แรงงานข้ามชาติถูกจำกัดและถูกแสวงประโยชน์โดยมิชอบตลอดทั้งภาคส่วนอุตสาหกรรมที่สร้างผลกำไรมหาศาล รวมถึงภาคอาหารทะเล สถานการณ์ดังกล่าวทำให้แรงงานข้ามชาติหลายล้านคนต้องทำงานที่ไม่ได้มาตรฐานแรงงานขั้นต่ำระหว่างประเทศ การแสวงประโยชน์โดยมิชอบอย่างร้ายแรงกับแรงงานข้ามชาติในภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลและภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในประเทศไทยยังคงดำเนินต่อไป แม้ว่ารัฐบาลได้พยายามปฏิรูปกฎหมายมากว่าสามทศวรรษแล้วก็ตาม

สิทธิในการรวมตัวยิ่งทวีความสำคัญเในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด 19 ในช่วงเวลาเช่นนี้ แรงงานจำเป็นต้องมีองค์กรที่มีสถานะทางกฎหมายและตัวแทนอันชอบธรรม เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถสื่อสารข้อกังวลและปัญหาต่าง ๆ กับทั้งนายจ้างและเจ้าหน้าที่รัฐได้ นายจ้างรวมถึงรัฐบาลจำเป็นต้องมีช่องทางที่ชัดเจนในการสื่อสารกับแรงงาน และตัวแทนแรงงานเกี่ยวกับคำสั่งของรัฐบาล กฎหมาย มาตรการระมัดระวังด้านสุขภาพและอาชีวอนามัยในสถานที่ทำงาน และการเปลี่ยนแปลงในการบริการของภาครัฐ และข้อตกลงและสวัสดิการการจ้างงาน รวมถึงข้อมูลที่จำเป็นอื่น ๆ 

รัฐบาลไทยจะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการ (1) แก้ไขพ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 88 และ 101 เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ และให้สิทธิแก่แรงงานข้ามชาติในการจัดตั้งสหภาพแรงงานของตัวเองและสามารถได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกคณะกรรมการหรืออนุกรรมการของสหภาพ และ (2) แสดงความมุ่งมั่นอย่างเปิดเผยในการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 และปรับปรุงกฎหมายในประเทศให้สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานขั้นต่ำที่ได้รับการยอมรับในหมู่นานาประเทศเหล่านี้

แนบสำเนาถึง :

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพาณิชย์

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Powered by Neon CRM  
Neon CRM by Neon One